เที่ยวบ้าน..ข้าน้อย

แอร์ละแหน่...พาเที่ยว

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

5 วิธีใช้อินเตอร์เน็ตสร้างสรรค์และถูกวิธี


ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคอินเทอร์เน็ต พวกเราได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากมัน เช่น ได้เล่นเกมออนไลน์ , ได้ chat กับคนแปลกหน้า , ได้ดูรูปโป๊แบบไม่จำกัด ,ได้หาแฟนใหม่ทางเน็ตวันละ 10 คน ฯลฯ แต่มีผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านเตือนว่า การหมกมุ่นอยู่กับเน็ต ระวังอันตรายร้อยแปด ทั้งเสียการเรียน ทั้งเสียคน บางทีอาจจะถึงกับได้พบอันตรายที่คาดไม่ถึงอีกมากมาย ที่จริง ก็น่าเห็นใจน้อง ๆ นะ ... เพราะเรียนหนังสือเครียดจะตายไป เลิกเรียนแล้ว ก็น่าจะได้มีโอกาสผ่อนคลายความเครียดกันบ้าง คนจะหาความสุขจากเน็ตสักหน่อย ยังมาห้ามอีก อะไรทำนองนั้น ทีนี้ตามหลักพุทธศาสนาท่านว่า ความสุขมีสองแบบ คือ แบบ เสพบริโภค (กามฉันทะ ) กับ แบบสร้างสรรค์ (ธรรมฉันทะ ) ความสุขแบบเสพบริโภคนั้น เป็นความสุขมีคุณน้อย มีโทษมาก ทำให้หลงเพลิดเพลินไม่เป็นอันทำการงาน มีแนวโน้มทำให้เกิดความรุนแรง เบียดเบียนกัน ร้อนรน กระวน กระวาย ไม่คุ้มค่ากับความสุขเพียงนิด ที่ต้องแลกกับความทุกข์ที่ตามมาเป็นพรวน ๆ อย่ากระนั้นเลย budpage ขอลองเสนอวิธีหาความสุขอย่างสร้างสรรค์ (ธรรมฉันทะ) จากเน็ตสัก 5 วิธี มาแนะนำกัน แบบว่าให้ได้ทั้งสนุก และ ได้รับสาระไปด้วย ดังต่อไปนี้
1."ชื่นชมความงามธรรมชาติบนเน็ต" เปิดเวบค้นหาภาพธรรมชาติ จำพวก ต้นไม้ ภูเขา วิวสวย ๆ ดวงจันทร์ หรือ ดอกไม้ ฯลฯ พอได้พบภาพที่ถูกใจ ให้คุณมองภาพนั้นด้วยความชื่นชมพร้อมทั้งกล่าวพรรณาความงามออกมา อาจจะเป็นคำพูดดี ๆ หรือ แต่งเป็นกลอน หรือแต่งเป็นเพลง ก็ได้ หากคุณลองทำดูแล้วคุณรู้สึกว่าจิตใจของคุณมีความแช่มชื่นเบิกบาน จนอยากออกไปพบเห็นธรรมชาติจริง ๆ ข้างนอก ละก้อ...แสดงว่าคุณได้ เข้าถึงความงามของธรรมชาติบ้างแล้ว
2. "พรรณาความงามของงานศิลปะ" อันนี้ก็คล้าย ๆ กัน ให้ search ค้นหาภาพงานศิลปะต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในอินเทอร์เน็ต คัดเลือกภาพที่ถูกใจสักภาพ แล้วให้คุณ พรรณาความงามของงานศิลปะชิ้นนั้น โดยสมมุติตัวเองว่าเป็นศิลปินกำลังบรรยาย ให้ผู้ชมฟัง พรรณาเข้าไปเถอะ หรือจะใช้วิธีพิมพ์บรรยายลงในคอมพ์ก็ได้ ทำอย่างนี้สักประเดี๋ยวจิตใจของคุณก็จะเกิดความปีติสุข เพราะได้เข้าถึงความงามของศิลปะ

3.มีความสุขกับการเป็น"พหูสูต " "พหูสูต" แปลง่าย ๆ ว่า"ผู้รอบรู้" คือ ไม่ว่าจะพบเห็นอะไร ก็จะมองเห็นเป็นความรู้ไปหมด สามารถ อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง นิสัย"พหูสูต" นี่สามารถสร้างขึ้นมาได้ หากฝึกฝนเป็นประจำ ยิ่งสมัยนี้มีอินเทอร์เน็ตยิ่งง่ายใหญ่ วิธีง่าย ๆ เริ่มต้นด้วย ทุก ๆ วัน ก่อนจะเปิดเน็ตให้ลองเหลียวมองสิ่งต่างๆ รอบตัวคุณ แล้วตั้งคำถามกับตัวเอง "วันนี้เราอยากจะรู้เรื่องเกี่ยวกับอะไร" เมื่อเราได้พบสิ่งที่น่าสนใจแล้ว ก็ให้ค้นในอินเทอร์เน็ตว่าเราได้รับความรู้อะไรจากสิ่งนั้นบ้าง ยกตัวอย่าง เหลียวไปเหลียวมารอบ ๆ ตัว ก็พบว่าวันนี้ เราอยากจะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ "ปากกาลูกลื่น"ที่วางอยู่บนโต๊ะ เราก็พิมพ์ คำว่า"ปากกาลูกลื่น" หรือ ball-point pen ลงในเวบไซต์ประเภท search engine ( เช่น google.com ,siamguru.com ฯลฯ) จากนั้นก็ให้คัดเลือกหาอ่านเรื่องราวที่มีความรู้เกี่ยวกับ"ปากกาลูกลื่น" เก็บเกี่ยวสาระให้ได้มากที่สุด จนเราสามารถคุยเรื่องปากกาลูกลื่นได้เป็นชั่วโมง ๆ (แววพหูสูตเริ่มปรากฏ) วันต่อ ๆ มาก็ให้มองหาสิ่งอื่น รอบๆ ตัวเพื่อค้นหาความรู้อีก ลองตั้งเป้าไว้เลยว่า จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งของที่มีอยู่ในบ้านให้หมดทุกอย่าง หากใครทำได้ ถือว่าได้เป็นผู้รอบรู้คนหนึ่งในบ้านเลยทีเดียว
4. สารานุกรมภาพ มาสะสม"ภาพความรู้"กันดีกว่า (รับรอง สนุกว่าสะสมรูปโป๊ ) กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ท้าทายมาก เพราะมีคนฉลาดๆเท่านั้นเองที่สามารถทำได้ วิธีการง่าย ๆ ก็คือให้ท่องเว็บไปเรื่อย ๆ ทีนี้เกิดไปเจอภาพอะไรที่เขามีคำอธิบายเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ เราก็ลองอ่านดู ถ้าเรื่องราวน่าสนใจ อ่านแล้วเราเข้าใจ ประทับใจ ก็ให้ save ภาพนั้นเก็บไว้ในอัลบั้มภาพในเครื่องคอมพ์ของตนเอง ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเรามีคลังภาพแห่งความรู้เก็บไว้มากมาย ( ทุกภาพก่อน save เราจะต้องอ่านเนื้อหาคำอธิบายจนเข้าใจภาพนั้นได้ดีก่อน ไม่ใช่ เก็บแต่ภาพแต่ไม่ยอมเก็บความรู้) ยกตัวอย่าง เปิดเวบไปเห็นภาพ"เหตุการณ์ 14 ตุลา" เราก็อ่านเรื่องราวบรรยายภาพนั้นจนเข้าใจ ว่าได้เกิดอะไรขึ้นในปี พ.ศ. 2516 จากนั้นให้save ภาพนั้นเก็บเอาไว้ หรือ ไปพบภาพ "super nova" (ดาวระเบิด) เราก็อ่านจนเข้าใจเนื้อหาสาระของภาพ แล้วก็เก็บภาพไว้ ทีนี้เวลาได้ภาพเก็บไว้ในอัลบั้มมากพอเพียงแล้ว เวลาว่าง ๆ ให้คุณลองจัดแสดงภาพแบบสไลด์โชว์ บรรยายให้เพื่อนฝูงฟัง รับรองว่าคุณจะกลายเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ สามารถให้ความรู้และความสนุกสนานกับเพื่อน ๆ จนบรรดาเพื่อน ๆ จะต้องทึ่งในตัวคุณเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
5. "เก็บคำคม" ในเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ตมีคำคม ๆ สำนวนดี ๆ มากมาย อ่าน ๆ แล้ว ให้เลือกสรรคำที่โดนใจ เอามาสะสมไว้ในไดอารี่ของเรา จะได้เก็บไว้อ่านประเทืองปัญญา จริงอยู่ในเว็บบอร์ดส่วนใหญ่อาจจะมีคำพูดที่ไม่เหมาะสมมากมาย เช่น คำหยาบ คำส่อเสียด ด่าว่า กระทบกระเทียบ แต่ในคำพูดเหล่านี้บางครั้งก็มีสาระสอดแทรกอยู่ เราสามารถเลือกสรรสิ่งที่ดีๆ คือ เลือกเฟ้นสิ่งที่ เป็นเนื้อหาสาระออกมา ( คุ้ยหาเพชรจากกองขยะ ) คุณทราบหรือไม่ว่าคำพูดของคนบางคน (แม้แต่คำพูดของคนที่สติไม่ดี ) บางครั้งจะให้แง่คิดดี ๆ ที่ช่วยปรับปรุงชีวิตของเราให้พัฒนาขึ้นมาได้ ลองดูสิ แล้วคุณจะรู้ว่าการสะสมข้อความดี ๆ มีสาระ มีความสนุกสนาน และมีคุณค่า ไม่น้อยกว่าการสะสมพระเครื่อง หรือ ตุ๊กตาโมเดลราคาแพง ๆ เสียอีก มาใช้สื่ออินเตอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์กันนะคะ

ความปลอดภัยในการใช้อินเตอร์เน็ต


30 วิธีเพื่อความปลอดภัยในการใช้อินเตอร์เน็ต

ปัจจุบันการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์อย่างมาก จึงทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างแพร่หลาย บุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ตจึงมีหลายจุดประสงค์ ทั้งใช้งานในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และการใช้งานที่เป็นผลร้ายต่อบุคคลอื่น ดังนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้ทำการแปลและเรียบเรียงวิธีการใช้งาน อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น สำหรับผู้ที่เริ่มใช้งาน เพื่อจะได้ปลอดภัย จากภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต

1. เมื่อเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ควรปรึกษาผู้ใหญ่เกี่ยวกับแนวทางในการใช้ในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวัน และเมื่อผู้ใช้มีความรู้ และคุ้นเคยในการใช้งานจริงบ้างแล้ว จึงค่อยปรับเปลี่ยนแนวทางในใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมต่อไป และควรเขียนแนวทางในการใช้อินเทอร์เน็ตติดไว้ใกล้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อความสะดวกในการจัดระบบการใช้อินเทอร์เน็ต
2. อย่าให้รหัสลับแก่ผู้อื่น
3. ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ ทุกครั้งที่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต
4. ตรวจทานว่าได้พิมพ์ชื่อเว็บไซด์ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงกด Enter เพื่อจะได้เข้าเว็บไซด์ที่ต้องการได้ถูกต้อง
5. ปรึกษาผู้ใหญ่ ก่อนเข้าใช้ห้องสนทนาบนอิน เทอร์เน็ต เพราะว่าห้องสนทนาแต่ละห้องมีการสนทนาที่แตกต่างกัน บางห้องอาจไม่เหมาะสม
6. ถ้าพบเห็นข้อความ หรือสิ่งใด ที่ไม่เหมาะสม หรือ คิดว่าไม่ดีต่อการใช้อินเทอร์เน็ต ควรออกจากเว็บไซด์นั้น และแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบทันที
7. อย่าส่งรูปภาพของตนเอง หรือรูปภาพของผู้อื่น ให้คนอื่นทางอีเมลล์ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่เสียก่อน
8. ถ้าได้รับอีเมลล์ที่มีข้อความไม่เหมาะสมหรือทำให้ไม่สบายใจ ไม่ควรโต้ตอบ และควรบอกให้ผู้ใหญ่ทราบก่อนทันที
9. บนอินเทอร์เน็ต ทุกอย่างที่คุณเห็นไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป
10. อย่าบอกอายุจริงของคุณกับคนอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษาผู้ใหญ่ก่อน
11. อย่าบอกชื่อจริง และนามสกุลจริงกับบุคคลอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษา และขออนุญาตผู้ใหญ่ก่อน
12. อย่าบอกที่อยู่ ของคุณกับบุคคลอื่น
13. ปรึกษาผู้ใหญ่ก่อนทุกครั้งที่จะทำการลงทะเบียนใด ๆ บนอินเทอร์เน็ต
14. อย่าให้หมายเลขของบัตรเครดิตการ์ดของคุณกับบุคคลอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษาผู้ใหญ่ก่อน
15. ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเรา คุณสามารถทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ต้องการได้
16. อย่าเปิดเอกสารหรืออีเมลล์หรือไฟล์ จากบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก เพราะอาจมีไวรัส หรือข้อมูลไม่เหมาะสม มากับเอกสารหรืออีเมลล์นั้น
17. ควรวางเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่สะดวกในการดูแลเอาใจใส่ เช่น ห้องนั่งเล่น หรือ ห้องส่วนรวม
18. อย่าตัดสินใจที่จะไปพบบุคคลอื่นซึ่งรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ และถ้ามีการนัดพบกันไม่ควรไปเพียงลำพัง ควรมีผู้ใหญ่หรือคนที่รู้จักหรือเพื่อนไปด้วย และควรนัดพบกันในที่สาธารณะ
19. บนอินเทอร์เน็ตข้อมูลต่าง ๆ ที่เราพิมพ์ลงไป บุคคลอื่นที่เราไม่รู้จักสามารถล่วงรู้ได้ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง
20. อย่าบอกเบอร์โทรศัพท์ของคุณกับบุคคลอื่น ในอินเทอร์เน็ต
21. พูดคุยกับผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับสถานที่ กิจกรรม และสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็น บนอินเทอร์เน็ตที่ได้พบเห็น ระหว่างการใช้อินเทอร์เน็ต
22. ใช้ชื่อที่ต่างจากชื่อจริง และชื่อเล่นของตัวเองเพื่อใช้แทนตัวเอง ในขณะใช้อินเทอร์เน็ต
23. ควรปรึกษาผู้ใหญ่ ถ้าต้องการที่จะให้อีเมลล์แอดเดรสกับบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต
24. ถ้ามีบุคคลอื่นที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป ไม่ควรให้ข้อมูล และควรหยุดการสนทนานั้น
25. อย่าบอกชื่อ ที่อยู่ของโรงเรียนของคุณ กับบุคคลอื่นบนอินเทอร์เน็ต
26. ขณะใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรเชื่อคำพูดหรือข้อมูลของบุคคลอื่น เพราะการปลอมตัวทำได้ง่าย และอาจไม่เป็นความจริง
27. อย่าทำสิ่งผิดกฎหมายบนอินเตอร์เน็ต เช่น ถ้าไม่เคยใช้บัตรเครดิต ก็ไม่ควรกรอกข้อมูลในการซื้อของ โดยใช้บัตรเครดิต บนอินเทอร์เน็ต
28. เมื่อมีใครบางคนให้เงินหรือของขวัญ ฟรี ๆ กับคุณ ควรบอกปฏิเสธ และบอกให้ผู้ใหญ่ทราบทันที
29. อย่าใช้คำไม่สุภาพ ขณะใช้อินเทอร์เน็ต
30. คุณสามารถออกจากอินเทอร์ได้ด้วยตัวเอง ถ้าไม่ต้องการใช้อินเทอร์เน็ต

ประวัติอินเตอร์เน็ต......



ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต



อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)
ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด
สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา
อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด


เรามารู้จักสัญญาณ....อินเตอร์เน็ตก่อนติดกันดีกว่า ???


สัญญาณที่แสดงว่า........


คุณติดอินเตอร์เน็ตถ้าคุณเป็นแบบนี้ แสดงว่าคุณติดแล้ว


1. หยุดเล่นอินเตอร์เน็ตไม่ได้ ในกรณีนี้จะถือว่าอาการยิ่งรุนแรงมากขึ้น ถ้าเกิดเคยสัญญากับตัวเอง หรือ บุคคลอื่นว่าจะลดเวลาการออนไลน์ แต่ผลสุดท้ายก็ทำไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้
2. เริ่มโกหก โกหกบุคคลรอบข้างว่าไม่ได้เล่นอินเตอร์เน็ต แต่จริงๆ แล้วพยายามทุกวิถีทางเพื่อหาโอกาสออนไลน์
3. สถานการณ์เริ่มเลวร้าย แต่ยังไม่รู้ตัว เมื่อเสียเวลาอยู่ในโลกออนไลน์มากๆ เข้า ก็จะทำให้ไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
4. มีพฤติกรรมผิดศีลธรรม เวลาเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์ เริ่มกลายเป็นคนชอบโกหกหลอกลวง กล้าทำกล้าพูดในสิ่งผิดศีลธรรม เพราะรู้ว่าสามารถปกปิดสถานะที่แท้จริงของตัวเองได้
5. ไม่รู้เวลา นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นอินเตอร์เน็ตโดยไม่รู้เวลา จัดลำดับความสำคัญของการงาน หรือ การเรียนไม่ได้
6. ติดเน็ต-เหมือนติดยา เวลาออนไลน์แล้วรู้สึกขัดแย้งในตัวเอง เช่น รู้ว่าการเล่นอินเตอร์เน็ตมากๆ เป็นสิ่งไม่ดี แต่ห้ามตัวเองไม่ได้ เพราะเสพติดไปแล้ว
7. ชีวิตขาด "เน็ต" ไม่ได้ แสดงปฏิกิริยาต่อต้านทันที เมื่อถูกบีบบังคับ หรือ จำเป็นต้องลดเวลาการออนไลน์
8. คิดอะไรไม่ออก ขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รับประทานอาหาร ทำงาน อ่านตำรา ฯลฯ จะห้ามใจไม่ให้คิดถึงการเล่นอินเตอร์เน็ตไม่ได้
9. แยกตัว เกิดอาการแยกตัวจากสังคม ไม่กล้าเผชิญหน้ากับชีวิตจริง โดยเข้าไปหลบตัวอยู่ในโลกของอินเตอร์เน็ตแทน
10. สิ้นเปลืองเงิน สิ้นเปลืองเงินทองไปกับการอัพเกรดคอมพิวเตอร์ การอยู่ในโลกออนไลน์ หรือ ใช้จ่ายเงินหมดไปกับเวลาค่าใช้อินเตอร์เน็ตโดยไม่จำเป็น